ข้อมูลทั่วไป
ตราประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นรูปโบสถ์วัดโสธรวรารามวรวิหาร ความหมายคือ เป็นจุดศูนย์รวมของประชาชนชาวจังหวัดฉะเชิงเทราให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ธงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
ธงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ความหมาย : สีแดงเลือดนก คือ ความเสียสละ ความสามัคคี จากการต่อสู้และได้มาซึ่งชัยชนะของพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา และพระเจ้าตากสินมหาราชต่อสู้ชนะข้าศึกทั้งทางบกและทางน้ำ สีเหลืองหมาย ถึงสีประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ศาลากลางน้ำ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มชื้น ความร่มเย็น และองค์หลวงพ่อพระพุทธโสธรที่ล่องมาทางแม่น้ำบางปะกง
"แม่น้ำบางปะปงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์"
ต้นไม้ประจำจังหวัดคือ ต้นนนทรีป่า
พันธุ์ไม้ประจำจังหวัด ฉะเชิงเทรา
ชื่อพันธุ์ไม้ นนทรีป่า
ชื่อสามัญ Copper pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum dasyrachis Kurz, ex Baker
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น กว่าเซก (เขมร-กาญจนบุรี), คางรุ้ง คางฮ่ง (พิษณุโลก), จ๊าขาม ช้าขม (ลาว), ตาเซก (เขมร-บุรีรัมย์), นนทรีป่า
(ภาคกลาง), ราง (ส่วย-สุรินทร์), ร้าง อะราง อะล้าง (นครราชสีมา), อินทรี (จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 15 - 30 เมตร เรือนยอดเป็นรูปพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองสด กลีบดอกมีลักษณะย่น ออกดอกพร้อมกับใบอ่อนช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปหอก
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตามป่าโปร่งภาคเหนือของประเทศไทย
ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกนนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัด ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
ชื่อสามัญ Yellow Flamboyant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน
- ระยะทางจากกรุงเทพ - จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 82 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ.บางคล้า จำนวน 25 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ.บางน้ำเปรี้ยว จำนวน 19 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ.บางปะกง จำนวน 24 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ.บ้านโพธิ์ จำนวน 14 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ.พนมสารคาม จำนวน 34 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ.สนามชัยเขต จำนวน 50 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ.แปลงยาว จำนวน 35 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ. ราชสาส์น จำนวน 45 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ. ท่าตะเกียบ จำนวน 82 กิโลเมตร
- ระยะทางจาก อ.เมืองฉะเชิงเทรา - อ.คลองเขื่อน จำนวน 18 กิโลเมตร
เขตการปกครองจังหวัดฉะเชิงเทรา
แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น
11 อำเภอ
91 ตำบล
892 หมู่บ้าน
34 เทศบาล
1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด
74 องค์การบริหารส่วนตำบล
อาณาเขตติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดนครนายก และจังหวัดปราจีนบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดชลบุรี อ่าวไทย และจังหวัดจันทบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 5,370.28 ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ 3,344,375 ไร่
แบ่งพื้นที่เป็นแต่ละอำเภอ ดังนี้
1. อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา 378.663 ตารางกิโลเมตร
2. อำเภอบางคล้า 227.900 ตารางกิโลเมตร
3. อำเภอบางน้ำเปรี้ยว 498.659 ตารางกิโลเมตร
4. อำเภอบางปะกง 257.893 ตารางกิโลเมตร
5. อำเภอบ้านโพธิ์ 217.593 ตารางกิโลเมตร
6. อำเภอพนมสารคาม 572.000 ตารางกิโลเมตร
7. อำเภอสนามชัยเขต 1,666.000 ตารางกิโลเมตร
8. อำเภอแปลงยาว 237.230 ตารางกิโลเมตร
9. อำเภอราชสาส์น 134.900 ตารางกิโลเมตร
10. อำเภอท่าตะเกียบ 1,096.442 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่ราบลุ่มมีที่ดอนเป็นบางส่วน โดยเฉพาะในเขตอำเภอสนามชัยเขต
และอำเภอท่าตะเกียบส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลอน ประกอบด้วยภูเขาเตี้ย ๆ หลายลูก ป่าไม้ขึ้นปกคลุมทึบ เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ไม้มีค่าอุดมสมบูรณ์ บางส่วนของพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 20 เมตร แต่บางส่วนอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล